388 Views |
Q : โคมไฟแกนร่วม คือ?
A :โคมไฟแกนร่วมคือ เลนส์ที่มีโคมไฟติดตั้งอยู่ภายในทางเดินแสง ซึ่งทำงานโดยวิธีการใช้แสงในเส้นทางเดียวกัน
(เหมาะสำหรับการสังเกตชิ้นงานที่มีพื้นผิวเป็นกระจก เช่น แผ่นซิลิคอนเวเฟอร์, วัตถุที่ชุบโลหะ, วัตถุโลหะขัด เป็นต้น)
เมื่อเปรียบเทียบการใช้งานของโคมไฟแกนร่วม กับโคมไฟแบบให้แสงสว่าง (เช่น ห่วงไฟ เป็นต้น) จะเห็นความแตกต่างที่ปรากฏในภาพ
ด้านล่างเป็นภาพขณะสังเกตแผ่นทดสอบแบบกระจกใส
ที่มีลวดลายที่ชุบโครเมียมอยู่ (ภาพซ้าย)
จะเห็นว่าภาพที่ใช้ห่วงไฟจะดูเป็นธรรมชาติกว่าแต่ ความคมชัดของกระจก และส่วนลวดลายจะมีการสะท้อนของแสงสูงเนื่องจากเป็นส่วนที่ชุบโครเมียมนั้น ภาพที่ใช้โคมไฟแบบแกนร่วมจะมีความคมชัดกว่าซึ่งการใช้โคมไฟแบบแกนร่วมจะเหมาะสำหรับการตรวจสอบในบางกรณีเท่านั้น
(ดั่งกรณีที่กล่าวข้างต้น เป็นการตรวจสอบรอยขีดข่วนและความบกพร่องของวัตถุที่เคลือบด้วยโครเมียม
การใช้โคมไฟแบบแกนร่วมจะทำให้สังเกตภาพได้ง่ายกว่า)
<กรณีที่เหมาะกับการใช้โคมไฟแบบแกนร่วม>
โดยทั่วไป จะใช้ในการสังเกตวัตถุที่มีลักษณะสะท้อนแสงคล้ายกระจก (มีผิวกระจก) หรือ เป็นวัตถุที่มีการสะท้อนแสงมากๆความแตกต่างในการสะท้อนแสงจะทำให้ได้ภาพที่คมชัด
วัตถุชุบโลหะ
ขั้วไฟฟ้าบนแผงวงจร (ส่วนที่ชุบทอง)
<กรณีที่ไม่เหมาะกับการใช้โคมไฟแบบแกนร่วม>
วัตถุที่มีการกระจายแสงสูง (เช่น กระดาษ, ไม้, เรซิ่นที่เป่าด้วยทราย เป็นต้น) ซึ่งพื้นผิวจะไม่มีความแตกต่างอันเนื่องมาจากการสะท้อนแสงสูง(ซึ่งลักษณะที่ปรากฏจะเป็นจากการมองจากทุกมุมโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง)
ดังนั้น ถ้าใช้โคมไฟแบบแกนร่วมสังเกตภาพจะทำให้ภาพที่ได้ไม่คมชัดจะเกิดเป็นภาพที่มีแสงสว่างเป็นจุด ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณภาพการกระจายแสงของวัตถุ (Lambert)
(ปรากฏการณ์แสงสว่างตรงจุดศูนย์กลาง)
กระดาษสีขาว (พิมพ์ตัวอักษรสีดำ)