409 จำนวนผู้เข้าชม |
“ส่วนที่ใช้สำหรับต่อกล้องที่ตัวกล้องจุลทรรศน์ ถ้าแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ จะแบ่งได้ทั้งหมด 2 ประเภท ดังนี้
คือ [กระบอกตาที่สาม JIS] และ [C-Mount]
(โดยนอกเหนือจากนี้ยังมีรูปแบบอื่น อีก)”
กระบอกตาที่สาม JIS
(ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง23.2mm)” “C-Mount
(ขนาดเกลียว M25.4mm)”
<กล้องที่ใช้สำหรับต่อกล้องจุลทรรศน์แบบ JIS>
“จะมีในส่วนของกระบอกตาที่สาม หรือเลนส์ติดอยู่ที่กล้องจุลทรรศน์ เพื่อใช้ในการต่อกล้อง
โดยสามารถเปลี่ยนเลนส์นี้เพื่อใช้ในการลดหรือเพิ่มพื้นที่การมองให้กว้างขึ้นได้ (เปลี่ยนกำลังขยายได้)”
ข้อดีที่สุดของกล้องแบบนี้คือ สามารถเชื่อมต่อที่กระบอกตา หรือ Eye piece ได้นั่นเอง
“เมื่อเอาเลนส์ Adapter ที่ติดอยู่ที่ส่วนปลายออกไป ก็จะสามารถเชื่อมต่อแบบ C-Mount ได้ด้วย(สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ [วิธีการติดตั้งกล้องเข้ากับ C-mount ของกล้องจุลทรรศน์สามกระบอกตา])”
<กล้องที่ใช้สำหรับต่อกล้องจุลทรรศน์แบบ C-Mount>
“C-Mount เป็นมาตรฐานของกล้องอยู่แล้ว (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ [C-Mount และ CS-Mount])
ดังนั้น กล้องแบบเฉพาะสำหรับกล้องจุลทรรศน์จึงไม่จำเป็นเลยกล้อง C-Mount จึงสามารถใช้เชื่อมต่อกับกล้องจุลทรรศน์ได้เลยทั้งอย่างนั้น ซึ่งถือเป็นข้อดีที่สุด (แต่ไม่สามารถต่อที่กระบอกตา หรือ Eye piece ได้)”
“ทั้งนี้ จะขึ้นอยู่กับขนาดเซ็นเซอร์ของกล้องที่ใช้ด้วย ที่จะมีผลทำให้พื้นที่การมอง หรือกำลังขยายเปลี่ยนไป
ในส่วนของกล้องนั้น จะไม่มีเลนส์ติดอยู่ด้วย ดังนั้น ในส่วนของกล้องจึงไม่สามารถปรับเปลี่ยนกำลังขยายได้
(แต่ในส่วนของกล้องจุลทรรศน์ สามารถเลือก Adapter สำหรับต่อกล้อง ตั้งแต่ซื้อตอนแรกได้)
โดยด้านล่าง จะเป็น System ของแบรนด์กล้องบางแบรนด์”
“ในส่วนของ C-Mount มีให้เลือกตั้งแต่ 0.25X – 0.63X
โดยจะคิดจากขนาดเซ็นเซอร์กล้อง C-Mount จึงจำเป็นต้องเลือกตั้งแต่ตอนซื้อ
อย่างไรก็ตาม กล้อง C-Mount จะจับโฟกัสได้ก็จริง แต่ในพื้นที่การมองนั้นอาจจะแคบลงจนเกิดเป็นเงาที่ขอบได้”